เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
































































ผู้เขียน หัวข้อ: บริการด้านอาหาร: อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  (อ่าน 102 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 125
  • บริการโพสต์ ช่วยให้ยอดขายท่านเพิ่มขึ้นได้อีกช่องทางหนึ่ง
    • ดูรายละเอียด
บริการด้านอาหาร: อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ในปัจจุบัน โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคยอดฮิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย เกิดได้จากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม และโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไต อันเป็นสาเหตุถึงขั้นรุนแรงที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันความดันโลหิตสูง สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน รวมไปถึงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วย เพราะอาหารก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งก็จะนำไปสู่การเป็นความดันโลหิตสูงได้นั่นเอง


โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดความดันโลหิตสูงก็มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยเช่น อ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีไขมันในเลือดสูง ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก รับประทานเค็มเป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย หรือมีภาวะดื้ออินซูลินหรือเป็นเบาหวาน แต่เราสามารถบรรเทาให้อาการดีขึ้นด้วยการใช้อาหารบำบัด เพราะอย่างที่เราบอกไปตั้งแต่ต้นว่า อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นข้อบ่งชี้ในการเกิดโรคต่างๆได้ หากเราไม่เลือกรับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ ก็สามารถทำให้เราเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้แล้ว ดังนั้น วันนี้ทางเราจะมาแนะนำอาหารบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อที่จะได้บรรเทาและถูกกับโรคด้วย เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยหรือคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงได้เลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด


การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนมที่ไขมันต่ำ รวมถึงการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว จำกัดการดื่มชา-กาแฟ เลิกสูบบุหรี่ ลดภาวะเครียด ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น เต้าหู้ ผักใบเขียว นมพร่องมันเยน เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ ผักสดทุกชนิด เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลืองน้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องจำกีดปริมาณของโซเดียมให้ได้ เนื่องจากโซเดียม เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่คอยทำหน้าที่ปรับสมดุลของของเหลวในร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ


และมีผลต่อความดันโลหิต พบได้จากอาหารตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว ผัก โดยมีปริมาณเล็กน้อย แต่คนส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมเกินจากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ผงปรุงรสและอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูหยอง กุนเชียง รวมถึงอาหารกระป๋อง เช่น ผักกาดดอง ไข่เค็ม เต้าหู้ยี้ กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น การควบคุมปริมาณโซเดียมสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมของโซเดียมต่อวัน จะสามารถลดความดันได้ 2-8 มิลลิเมตรปรอท และหากผู้ป่วยบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการร่วมกับการจำกัดปริมาณโซเดียม ก็จะสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีกว่าการควบคุมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง


นอกจากนี้ อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ที่พบมากในผัก ผลไม้ และถั่วชนิดต่างๆ โดยโพแทสเซียมจะเพิ่มการขับน้ำและโซเดียมออกจากร่างกาย จึงช่วยป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูง รวมไปถึง อาหารที่มีแคลเซียม เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก และผักสีเขียวเข้มบางชนิด ช่วยควบคุมความดันโลหิตและควบคุมน้ำหนักตัว และแมกนีเซียม พบมากในผักใบเขียว ธัญพืช และถั่วชนิดต่างๆ มีบทบาทในการยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตลดลงได้นั่นเอง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ควรเลี่ยงอาหารบางชนิด เพราะมีผลทำให้ความดันโลหิตสูง ได้แก่ อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม ควรงดการเติมเครื่องปรุงรส อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป หรือไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด

 
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพคือ เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะทางเราเน้นย้ำมาตลอดให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญเราจะต้องดูแลตัวเองให้มากๆ ดื่มน้ำมากๆ และหมั่นออกกำลังกายเป้นประจำ เราก็จะไม่เสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วนหรือโรคอื่นๆที่อาจจะตามมาได้จากการรับประทานอาหารของเราแล้ว