เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
































































ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: ตรวจระบบไฟฟ้าก่อนรับโอนบ้านได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง ฉบับเบื้องต้น  (อ่าน 35 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 208
  • บริการโพสต์ ช่วยให้ยอดขายท่านเพิ่มขึ้นได้อีกช่องทางหนึ่ง
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: ตรวจระบบไฟฟ้าก่อนรับโอนบ้านได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง ฉบับเบื้องต้น

การตรวจระบบไฟฟ้าที่เป็นระบบพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการอยู่อาศัย แต่มักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม โดยเฉพาะตอนตรวจรับบ้านหรือคอนโดก่อนโอนเป็นเจ้าของ ทำให้ต้องเสียเวลานั่งซ่อมแก้ไขปัญหาทีหลัง ซึ่งความจริงแล้วทุกคนสามารถตรวจระบบไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตนเองได้ง่าย ๆ จะต้องตรวจอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

 วิธีตรวจระบบไฟฟ้าด้วยตนเอง ฉบับทำตามได้ง่าย ๆ

1.    ตรวจระบบไฟฟ้าในบ้านแบบเบื้องต้น

อย่างแรกที่ต้องตรวจระบบไฟฟ้าในบ้านเลยก็คือ เปิด-ปิดไฟทุกดวงทั้งในและนอกบ้าน เช็กว่ามีแสงสว่างครบทุกจุดหรือไม่ มีการชำรุดหรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพที่จุดไหนบ้าง หากมีสวิตช์ 2 ทาง ควรเช็กเปิด-ปิดสวิตช์ทุกจุดที่ติดตั้ง

2.    ตรวจระบบไฟฟ้าที่เต้ารับว่ามีไฟรั่วหรือไม่

เต้ารับเป็นบริเวณที่ต้องทำการตรวจระบบไฟฟ้าว่ามีไฟรั่วและรองรับเต้าเสียบได้ดีเป็นปกติหรือไม่ โดยสามารถใช้ไขควงเช็กกระแสไฟรั่วได้ แนะนำว่าควรเช็กทุกเต้ารับที่มีในบ้านหากตำแหน่งใดที่ไม่มีไฟเข้าจะได้การซ่อมแซมอย่างทันที

3.    ตรวจระบบไฟฟ้าในการเดินสายไฟ

หนึ่งในความปลอดภัยที่ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้คือ ‘การตรวจการเดินสายไฟ’ ให้ดูที่ใต้หลังคาหรือใต้ฝ้า โดยดูว่ามีการทำท่อร้อยสายไฟหรือไม่ เพราะท่อร้อยสายไฟที่ใช้หุ้มสายไฟฟ้าจะร้อยสายไฟให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สายไฟต้องมีสภาพสมบูรณ์ ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

4.    ตรวจระบบไฟฟ้าต้องดูที่มิเตอร์ไฟฟ้า

มิเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้วัดหน่วยการใช้ไฟฟ้าในบ้าน ฉะนั้นควรตรวจสอบให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มตรวจระบบไฟฟ้าจากการตัดไฟทั้งบ้าน เพื่อดูว่าเมื่อตัดไฟแล้วมิเตอร์ยังหมุนอยู่หรือไม่ หากตัดไฟแล้วมิเตอร์หยุดหมุน หมายความว่า มิเตอร์ใช้งานได้ปกติ แต่หากตัดไฟแล้วมิเตอร์ยังหมุนอยู่แสดงว่ามีไฟรั่วเกิดขึ้น ต้องซ่อมแซมให้เป็นปกติเสียก่อน มิเช่นนั้นค่าไฟจะสูงและเสี่ยงอันตรายต่อผู้ใช้งานอีกด้วย

5.    ตรวจระบบไฟฟ้าตู้ควบคุมไฟฟ้า

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญในการควบคุมเปิด-ปิดการจ่ายไฟให้แต่ละส่วนในบ้านอย่าง ‘ตู้ควบคุมไฟฟ้า’ จะต้องมีการระบุอย่างชัดเจนว่าเบรกเกอร์แต่ละตัวใช้ควบคุมไฟฟ้าส่วนใด เมื่อตัดไฟที่เบรกเกอร์ตัวนั้นแล้วต้องตัดไฟเฉพาะบริเวณที่ตั้งไว้เท่านั้น และที่สำคัญต้องมีเบรกเกอร์หลักที่คอยควบคุมเบรกเกอร์ตัวย่อย พร้อมเช็กสายไฟด้านหลังด้วย เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยสายไฟจะต้องเก็บอย่างเป็นระเบียบ ห้ามมีสายไฟเปลือยเด็ดขาด

 6.   ตรวจระบบไฟฟ้าในด้านความปลอดภัย

ทุกครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าหรือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิด อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟช็อต ไฟดูด ซึ่งหากเราตรวจระบบไฟฟ้าในบ้านให้ดีมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานจะสามารถป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้

    การติดตั้งสายดิน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่บ้านทุกหลังจะต้องติดตั้งเพื่อความปลอดภัย เพราะสายดินจะทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าที่ไม่ต้องการไหลลงสู่ดิน แทนที่จะไหลเข้าตัวเรา โดยสามารถเช็กได้ว่าที่บ้านมีการติดตั้งสายดินหรือยัง ด้วยการสังเกตที่ปลั๊กไฟหรือเต้ารับว่ามี 3 ขา หรือเปิดดูหลังปลั๊กว่ามีสายสีเขียวเส้นที่ 3 หรือไม่ รวมถึงตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการเดินสายดินต่อไปยังตู้ควบคุมไฟฟ้าต้องไปดูที่จุดฝังหลักดินว่ามีวงจรสายดินที่สมบูรณ์ตามมาตรฐานถูกต้อง

7.    ตรวจระบบไฟฟ้า ทดสอบเปิด/ปิดเครื่องปรับอากาศ

อีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญที่จำเป็นต้องตรวจสอบก่อนคือ เครื่องปรับอากาศ ควรเปิดทดสอบการใช้งานว่าเครื่องปรับอากาศทำงานตามปกติดีหรือไม่ มีน้ำแอร์หยดหรือเปล่า หากมีอาการผิดปกติจะต้องดำเนินการซ่อมแซมทันที

นอกจากจะต้องตรวจระบบไฟฟ้าก่อนรับโอนบ้านหรือคอนโดแล้ว ยังมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ควรต้องตรวจสอบอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น

    ระบบน้ำ หากเป็นบ้านจะต้องเช็กมิเตอร์น้ำว่าหมุนตามปกติไหม ระบบท่อน้ำในส่วนซักล้าง แรงดันของน้ำในส่วนก๊อก ฝักบัว ชักโครก เพื่อการระบายน้ำลงท่อที่เป็นปกติ ใช้งานได้ดี ป้องกันการท่วมขัง
    หากเป็นคอนโด แนะนำให้เช็กระบบรั่วในทุกบริเวณที่ใช้น้ำ เช่น ห้องน้ำ ส่วนครัว และส่วนซักล้าง
    โครงสร้าง ผนัง และเพดาน ไม่มีรอยแตกร้าว เพดานได้ระดับเท่ากันในแต่ละส่วนของห้องพร้อมเช็กรอยน้ำที่เพดาน รวมถึงเช็กสภาพหลังคาว่ามีปัญหาน้ำรั่วซึมไหม
    เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากเครื่องปรับอากาศแล้ว อย่าลืมเช็กส่วนครัว ทั้งเคาน์เตอร์ครัว เตาไฟฟ้า เครื่องดูดควัน ควรทดสอบการใช้งานว่ามีส่วนชำรุดหรือไม่ เพื่อป้องกันเหตุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้